Marketing VS Branding สิ่งไหนควรทำก่อน มุมมองดี ๆ จาก รวิศ หาญอุตสาหะ
คุณแท็บ รวิศ หาญอุตสาหะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัทศรีจันทร์สหโอสถ จำกัด
ผู้ที่พลิกโฉมแบรนด์ SRICHAND ให้กลับผู้นำในธุรกิจ Health , Beauty & Wellness
พร้อมกับเป็นเจ้าของพอดแคสต์ Mission to the Moon
เริ่มต้นธุรกิจใครก็ทำได้ แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะประสบความสำเร็จ
ในวันที่ใคร ๆ ก็อยากสร้างแบรนด์เป็นของตนเอง
มีเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่สามารถทำให้แบรนด์ประสบความสำเร็จในระดับประเทศ
โดยมีผู้ชายอยู่หนึ่งคนที่สามารถปลุกปั้นให้แบรนด์ของตนเองประสบความสำเร็จ “ในระดับโลก”
ซึ่งคนคนนั้นก็คือ คุณแท็บ รวิศ หาญอุตสาหะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัทศรีจันทร์สหโอสถ จำกัด
ผู้ที่พลิกโฉมแบรนด์ SRICHAND ให้กลับผู้นำในธุรกิจ Health , Beauty & Wellness
พร้อมกับเป็นเจ้าของพอดแคสต์ Mission to the Moon ซึ่งให้ทั้งความรู้ และ แนวคิดดี ๆ ของการดำเนินชีวิต ในเวลาเดียวกัน มาดูกันว่าในแนวคิดของคุณแท็บมีความคิดเห็นอย่างไร ในเรื่องของ Marketing VS Branding สิ่งไหนควรเริ่มทำก่อนกัน ?
ในมุมมองของคุณแท็บ รวิศ Marketing หรือ Branding
สิ่งไหนควรทำก่อน ?
เป็นข้อสงสัยที่นักธุรกิจรุ่นใหม่หลาย ๆ คนกำลังตั้งข้อสงสัยเป็นอย่างมาก
ว่า Marketing หรือ Branding สิ่งไหนควรเริ่มต้นทำก่อน และควรมีการจัดสรรงบประมาณอย่างไร ?
ซึ่งในมุมมองของคุณแท็บ รวิศ หาญอุตสาหะ เล็งเห็นว่า “ไม่มีคำตอบที่ตายตัวสำหรับข้อสงสัยนี้”
เนื่องจากสถานการณ์ที่ประสบพบเจอของแต่ละธุรกิจนั้นแตกต่างกันออกไป ในส่วนของธุรกิจที่มีเงินทุนจำนวนมาก สามารถดำเนินการทั้งคู่ไปพร้อม ๆ กันได้เลย แต่ถ้าเป็นธุรกิจที่ต้องการเงินมาหมุนเวียนในตอนนั้น
ก็จำเป็นที่จะต้องลงมือทำในส่วนที่ได้เงินกลับมาให้เร็วที่สุด
แต่ถึงอย่างไรคุณแท็บ ก็ยังให้ความสำคัญกับการทำ Branding โดยเล็งเห็นถึงธรรมชาติของมนุษย์ ที่ชื่นชอบสิ่งที่ได้สัมผัสแล้วเกิดความสบายใจ นั่นหมายถึงการซื้อซ้ำที่จะเกิดขึ้น หากไม่มีการทำ Branding เลย ก็จะเป็นเหมือนกับการที่จะต้องทำ Marketing เพื่อหาลูกค้าใหม่อยู่ตลอด ซึ่งเป็นทางเลือกที่เหนื่อยมากเลยทีเดียว
ในแวดวงธุรกิจจะรู้กันเป็นอย่างดีว่า
“ มูลค่าของลูกค้าที่มาซื้อซ้ำ มีมูลค่าสูงกว่าการหาลูกค้าใหม่ ”
กล่าวคือ การทำ Branding ที่มีประสิทธิภาพจะทำให้เกิดการซื้อซ้ำ
ซึ่งมีความยืนยาวมากกว่าการมองหาลูกค้าใหม่ ที่มีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่า
Re-Branding VS สร้างแบรนด์ใหม่ ทางเลือกไหนดีกว่ากัน ?
ในมุมมองของคุณแท็บ ในคำถามนี้ไม่สามารถบอกได้ว่าทางเลือกไหนดีกว่ากันได้ในทันที
เพราะต้องมีการวิเคราะห์ก่อนว่า ในแบรนด์เดิมนั้นมีอะไรดีอยู่บ้าง หากมีสิ่งไหนที่ยังสามารถต่อยอดไปได้
การ Re-Branding ก็เป็นทางเลือกที่ดี เพราะไม่จำเป็นต้องสร้างแบรนด์ใหม่ ซึ่งเป็นทางเลือกที่เหนื่อยมากกว่า เนื่องจากการสร้างแบรนด์ใหม่จำเป็นต้องใช้เวลาอยู่พอสมควร
“คุณแท็บ รวิศ ได้ Re-Branding ศรีจันทร์ แบรนด์เครื่องสำอางที่มีอายุกว่า 70 ปี ”
โดยคุณแท็บนั้นก็เป็นอีกหนึ่งคนที่ได้ผ่านประสบการณ์ Re-Branding และ สร้างแบรนด์ใหม่ด้วยตนเองมาแล้ว
เริ่มต้นจากแบรนด์ “ศรีจันทร์” ที่ได้แปลงโฉมให้กลายเป็น “SRICHAND” เนื่องจากคุณแท็บ
ได้เล็งเห็นถึงปัญหาของการ BB ที่ทำให้ไปต่อได้ยาก จึงได้ดำเนินการ Re ด้วยการดึงเอาภาพลักษณ์
ของความสวยงาม ซึ่งเป็นจุดเด่นของแบรนด์ ออกมาให้เด่นชัดมากที่สุดผ่านโปรดักต์และเซอร์วิสต่าง ๆ
“ ศศิ แบรนด์ใหม่ภายใต้การดูแลของ คุณแท็บ รวิศ”
ศศิ (SASI) เป็นตัวอย่างที่ดีในด้านของการ “สร้างแบรนด์ใหม่” ซึ่งเป็นบทเรียนให้เราศึกษา
เรื่องการทำ Brand building (ปั้นแบรนด์) โดยคุณแท็บได้ให้ความคิดเห็นว่า
แบรนด์แต่ละแบรนด์นั้นต่างก็มีบุคลิกเฉพาะตัว ซึ่งไม่สามารถนำมาอยู่ในแพ็คเกจด้วยกันได้
ดังนั้นการสร้างแบรนด์ใหม่ขึ้นมาจึงเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมมากกว่า
ประกอบกับในช่วงเวลานั้นคุณแท็บได้เล็งเห็นโอกาสในตลาด
จึงได้สร้างแบรนด์ใหม่อย่าง “ศศิ” ขึ้นมา แต่การสร้างแบรนด์ใหม่เองก็มีความเสี่ยง
จากการที่ต้องใช้เวลา งบประมาณ ทรัพยากรต่าง ๆ อีกหลายอย่าง
เพราะฉะนั้นการจะสร้างแบรนด์ใหม่
จึงต้องคำนึงถึงความจำเป็นที่จะต้องมี
การทำ Research ในอดีตเมื่อลองมาเทียบกับปัจจุบัน
การ Research ในทุกวันนี้แตกต่างจากอดีตเป็นอย่างมาก เพราะข้อมูลต่าง ๆ ที่สามารถรวบรวมได้นั้นเยอะมาก
จากหลาย ๆ แหล่งข้อมูล แต่การพูดคุยกับลูกค้าเองก็ยังเป็นวิธีที่ดีเช่นเดียวกัน เนื่องจากความรู้สึกบางอย่าง
ไม่สามารถสัมผัสได้ผ่านทางโลกออนไลน์ การมีข้อมูลต่าง ๆ อยู่ในมือ ทำให้การทำธุรกิจไม่ต้องคาดเดาเหมือนในอดีต ทุก ๆ อย่างสามารถวิเคราะห์ผ่านข้อมูลได้ ทำให้เกิดความแม่นยำในการตัดสินใจต่าง ๆ ได้มากขึ้น
การรับมือกับ Tsunami of Data ของคุณแท็บ รวิศ หาญอุตสาหะ
การที่เจ้าของแบรนด์ได้รับข้อมูลต่าง ๆ และ Feedback จากลูกค้าเป็นจำนวนมาก
ในทางกลับกันก็อาจทำให้เกิดปัญหา “Tsunami of Data” ซึ่งเกิดจากข้อมูลต่าง ๆ นั้นถาโถมเข้ามาใส่เจ้าของแบรนด์ คุณแท็บ รวิศ หาญอุตสาหะ มีวิธีการรับมือดังนี้
- แบรนด์ต้องมีจุดยืนที่ชัดเจน เพราะถ้าคุณจะทำ brand building (ปั้นแบรนด์) ต้องมีการคัดกรองข้อมูลต่าง ๆ ที่ถูกนำมาใช้งาน เพราะบางข้อมูลเองก็ไม่ได้มีประโยชน์ต่อแบรนด์ โดยที่แบรนด์จะต้องมีจุดยืนที่ชัดเจนว่า สิ่งใดควรทำ สิ่งใดไม่ควรทำ
- ต้องมีความเข้าใจเรื่องของข้อมูล ข้อมูลบนโซเชียลมีเดียไม่สามารถนำมาใช้งานได้ 100% เพราะนั่นไม่ใช่ข้อมูลทั้งหมดจริง ๆ ยังมีอีกหลาย ๆ คนที่ไม่ได้เล่นโซเชียล และ หลาย ๆ คนที่ไม่ได้ให้ Feedback ดังนั้นต้องทำความเข้าใจในทฤษฎีของข้อมูลอย่างลึกซึ้ง ถึงจุดแข็ง จุดอ่อน ต่าง ๆ ของข้อมูล
- เลือกใช้ Business Data Analytics ที่เหมาะสม ปัจจุบันมีหลาย ๆ แพลตฟอร์มที่เป็นตัวช่วยของการจัดการข้อมูลต่าง ๆ ได้มีประสิทธิภาพ แต่ต้องอย่าลืมเก็บข้อมูลต่าง ๆ เอาไว้ให้มากที่สุด เพราะบางข้อมูลมีระยะเวลาที่จำเป็นต่อการใช้งาน เมื่อมีข้อมูลเป็น Dashboard ที่ครบถ้วน ก็สามารถวิเคราะห์ได้ง่ายขึ้น
คุณแท็บ รวิศ มองภาพแบรนด์ ศรีจันทร์ ในอนาคตไว้อย่างไรบ้าง ?
ในคำถามนี้คุณแท็บมองว่าให้คำตอบได้ยาก เพราะในตอนนี้โลกนั้นหมุนเร็วกว่าเมื่อก่อน
การจะทำให้แบรนด์ยั่งยืนนั้นมีองค์ประกอบที่เยอะมากจริง ๆ เนื่องจากการแข่งขันนั้นสูงมาก
การหันมามองคู่แข่งบ้างเป็นเรื่องที่ควรทำ แต่ก็ไม่ควรกระโดดเข้าไปแข่งขันด้วยในทุก ๆ อย่างเสมอไป
โดย ศรีจันทร์ เป็นธุรกิจประเภท Health , Beauty & Wellness ที่มีจุดยืนที่ชัดเจน ว่า ทำเพื่อใคร , ทำให้ใคร
และเข้าใจว่าเขาคนนั้นอยากได้อะไร ไม่มีทางเลยที่จะขายได้กับทุก ๆ คน ซึ่งนั่นอาจเป็นเคล็ดลับ
ที่ทำให้แบรนด์ยังคงเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ณ ปัจจุบัน
บทส่งท้าย
และนี่คือเรื่องราวของแบรนด์ ศรีจันทร์ ภายใต้การคุมบังเหียนของคุณแท็บ รวิศ หาญอุตสาหะ
จากเนื้อหาข้างต้นคงทำให้รู้แล้วว่าการทำ Brand building (ปั้นแบรนด์) นั้นช่วยให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้อย่างไร ซึ่งนี่เป็นเพียงเนื้อหาสรุปโดยย่อจากการสัมภาษณ์เพียงเท่านั้น หากคุณต้องการรับชมแบบเต็ม ๆ
สามารถรับชมได้ที่ Youtube ช่อง NopPongsatorn และอย่าลืมติดตามเรื่องราวดี ๆ ที่เรานำมาฝาก
สำหรับการทำธุรกิจในสมัยใหม่ ได้ที่ THE INSIDER ทั้งในส่วนของ เว็บไซต์ และ เพจ Facebook
รับชมบทสัมภาษณ์นักธุรกิจแบบเจาะลึกได้ที่ THE INSIDER PODCAST