RAVIPA แบรนด์เครื่องประดับไทย สู่เส้นทางระดับโลก
คุณ สา ธนิสา เจ้าของแบรนด์ RAVIPA
แบรนด์เครื่องประดับสัญชาติไทย
ที่คุณผู้หญิงหลาย ๆ คน คงไม่มีใคร ไม่รู้จัก
RAVIPA แบรนด์จิวเวอรี่ ที่ได้สร้างปรากฎการณ์
กระแสเครื่องประดับสายมู จนเป็นที่รู้จักระดับประเทศ
ขึ้นแท่นแบรนด์เครื่องประดับอันดับ 1 ยอดขายสูงที่สุด
บนแพลตฟอร์ม อีคอมเมิร์ซ ไม่ว่าจะเป็น Shopee , Lazada
เพราะปกติแล้ว Top Seller บน อี-คอมเมิร์ซ จะไม่มีจิวเวอรี่เลย นอกจากเสื้อผ้า
แต่ RAVIPA คือแบรนด์จิวเวอรี่เจ้าเดียวที่ทำได้ครับ
และยังปังมากขึ้นไปอีกเพราะนี่ คือแบรนด์ไทย
แบรนด์เดียวที่ได้ร่วมคอลแล็บกับ Disney แบรนด์ระดับโลก
ที่อยู่ในความทรงจำของใครหลาย ๆ คน
เขาทำได้ยังไง ใช้กลยุทธ์อะไร กว่าจะมาเป็น RAVIPA
แบรนด์จิวเวอรี่ระดับโลก ที่โต 2000% ภายใน 1 ปี
ติดตามได้ในบทความนี้ครับ
———————————————————-
ก่อนการมาถึงของ RAVIPA
หากจะพูดถึงประวัติของ RAVIPA แบรนด์จิวเวอรี่
ที่ในปัจจุบันรู้จักกันในฐานะเครื่องประดับสายมูที่ดังมาก ๆ
ผมต้องพาทุกคนนั่งไทม์แมชชีนย้อนกลับไป 12 ปี ก่อน
หรือประมาณปี 2555
คุณ สา-ธนิสา วีระศักดิ์ศรี
ก่อนที่จะกลายเป็นนักธุรกิจเป็นเจ้าของ
แบรนด์จิวเวอรี่จนประสบความสำเร็จ ยอดขายถล่มทลาย
ในตอนนั้น คุณสา เป็นเพียงนักศึกษา ธรรมดา ๆ คนนึง
ที่มีความคิดว่า “ฉันอยากมีธุรกิจเป็นของตัวเองจัง”
แต่คิดยังไง ก็คิดไม่ออก และไม่รู้อะไรเกี่ยวกับการทำธุรกิจเลย
จนกระทั่งเวลาได้ผ่านเลยไปสักระยะ
คุณสานึกขึ้นได้ว่าพี่สาวของเธอนั้น
เรียนด้านการออกแบบ จิวเวอรี่มา
เมื่อเป็นอย่างนั้นทำไมเราไม่มาทำแบรนด์ของตัวเองล่ะ
ใช่ครับบุคคล คนนั้นคือ คุณ รวิภา วีระศักดิ์ศรี
พี่สาวของคุณ ธนิสา วีระศักดิ์ศรี
คุณ รวิภา เรียนจบ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ
ซึ่งไม่มีความเกี่ยวข้องอะไรกับเครื่องประดับเลยครับ
แต่ด้วยความที่ คุณ รวิภา มีความเป็นศิลปินอยู่ในตัว
และมีพรสวรรค์การออกแบบสูงมาก ๆ
ด้วยความรักในการออกแบบ คุณ รวิภา พี่สาวของคุณธนิสา
จึงได้เข้าเรียนด้านการออกแบบจิวเวอรี่
จากสถาบันที่มีความเข้มงวด สำหรับการออกแบบจิวเวอรี่โดยเฉพาะ
อย่าง Revere Academy of Jewelry Arts
ที่ซานฟราซิสโก
และทำงานออกแบบจิวเวอรี่ให้แบรนด์ต่างประเทศ
แถมยังเคยรับงานออกแบบให้กับแบรนด์ดัง
จากฝั่งอเมริกา
ผลงานการออกแบบของคุณ ระวิภา นั้น
ทำให้แบรนด์ที่เธอออกแบบให้ มียอดขายหลักล้าน!!
แต่คุณ รวิภาได้ค่าจ้างเพียงหลักหมื่น คุณ ธนิสา เห็นแบบนี้แล้ว
ก็คิดว่าถ้าเป็นแบบนี้ทำไมเราไม่มาทำเอง
เธอบอกพี่สาวเธอว่า
พี่เก่งมาก ๆ นะ แล้วทำไมถึงเอาความเก่งไปใช้แค่นั้นล่ะ
นี้คือสิ่งที่คุณ สา เสียดายเลยชวนพี่สาวมาสร้างธุรกิจ
และออกแบบจิวเวอรี่ให้แบรนด์ของเราเองดีกว่า
และชื่อ RAVIPA ก็ถือกำเนิดขึ้นครับ
———————————————————-
ทำไมต้องชื่อ RAVIPA
RAVIPA ชื่อนี้ไม่ใช่ชื่อที่ถูกตั้งขึ้นมาใหม่ จริงอยู่ที่ RAVIPA
มาจากชื่อของพี่สาวของคุณ ธนิสา แต่ RAVIPA แรกเริ่มนั้น
คือบัญชี Instagram ของพี่สาวที่เอาไว้ใช้ลงผลงานการออกแบบ
ของตัวเอง แต่พอเริ่มธุรกิจ น้องสาวจึงเปลี่ยน Instagram
พี่สาวมาใช้เป็นเพจ IG สำหรับขายของแทน โดยใช้ชื่อเดิมนั้นก็คือ RAVIPA
ความฝันและแรงผลักดัน
ซึ่งนึกถึงช่วงเวลานั้น พ.ศ.2555 คุณ ธนิสา
มีความฝันอยากจะประสบความสำเร็จด้วยลำแข้งของตัวเอง
เคยมีคนมาพูดกับเธอครับว่า
เป็นผู้หญิงไม่ต้องเก่ง เพราะเดี๋ยวก็แต่งงาน
หรือแม้กระทั่งคำพูดที่หาว่า
บ้านล้มละลายเลยต้องมาเป็นแม่ค้าขายของ
เพราะด้วยค่านิยม ณ เวลานั้นครับ ที่มองว่าตัวเธอนั้นเป็นผู้หญิง
ไม่สามารถเก่งเท่าผู้ชายได้ เธอจึงอยากพิสูจน์ตัวเอง
หลังจากที่คุณสาและพี่สาวของเธอตกลงที่จะ
สร้างธุรกิจเครื่องประดับด้วยกัน
คุณ ธนิสา ตัดสินใจทุบกระปุกเงินเก็บของเธอทั้งหมด
ซึ่งมีอยู่ 10,000 บาท โดยใช้จุดแข็งของพี่สาว
ซึ่งมีความสามารถในการออกแบบเครื่องประดับเป็นทุนเดิมมาต่อยอด
และได้ปล่อยคอลเล็คชั่นแรก ชื่อ Basic
ยุคแรกของ RAVIPA
ในปี 2556 ยุคนั้น RAVIPA อาศัยช่องทางออนไลน์ Instagram , Facebook
ในการทำการตลาด ตอนนั้นยังไม่มี เฟสบุ๊ค Ads นะครับ
ก็เริ่มมีคนรู้จักมากขึ้นยอดขายก็เริ่มดีขึ้น
คนพี่ก็มีหน้าที่ออกแบบส่วนคนน้องก็ทำการตลาด
ด้วยความที่คุณสา เรียนจบด้าน พาณิชยศาสตร์และการบัญชีมา
เธอจึงใช้ความสามารถของเธอจัดการเรื่อง Brand Awareness
เรื่องการตลาด หรือแม้กระทั่งกลยุทธ์ต่าง ๆ รวมถึงเรื่องของการ
วางแผนที่จะออกคอลเล็คชั่นใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา
แต่ธุรกิจที่เพิ่งเริ่มมีการตอบรับจากลูกค้าที่ดี ก็คงพียงพอแล้วใช่มั้ยครับ
ก็อาจจะเรียกได้ว่าพอใจแต่ไม่ใช่กับ RAVIPA ครับ คุณสาได้เห็นโอกาส
อีกอย่างนึงก็คือ คู่รัก เขาซื้อแหวนสวย ๆ ให้กันส่วนใหญ่ก็คงมีแต่วันสำคัญ
เช่น วันแต่งงาน ถึงจะมีแหวนคู่ แล้วเพราะอะไร
ถึงเอามาใส่ในชีวิตประจำวันไม่ได้ล่ะ ทำไมต้องรอแต่งงานถึงจะมีแหวนคู่ได้
จึงได้ถือกำเนิดคอลเล็คชั่นที่ทำให้ใครหลาย ๆ คน
เริ่มรู้จักแบรนด์ RAVIPA มากขึ้น นั้นก็คือคอลเล็คชั่นแหวนคู่ “Infinity”
และหลังจากนั้น RAVIPA ก็ออกคอลเล็คชั่นใหม่อีกเรื่อย ๆ
แต่จนแล้วจนรอดครับ แบรนด์ก็ไม่โตสักที
คือตัวแบรนด์เองก็ค่อย ๆ โต จนเหมือนกับว่า แทบไม่โตเลย
คุณสา ในตอนนั้นครับ เรียกได้ว่าเธอไม่กล้าที่จะออกจาก Comfort Zone เท่าไหร่นัก
ไม่กล้าที่จะลงทุน เพราะด้วยความที่เริ่มธุรกิจจากเงินเก็บส่วนตัว
เธอเลยค่อนข้างระมัดระวัง แต่มันก็ทำให้แบรนด์ค่อย ๆ ขยับโตขึ้นอย่างช้า ๆ
ถึงขั้นมีคนมาพูดกับคุณสาเลยว่า
ถ้าขายได้เท่านี้กลับไปทำงานประจำซะยังดีกว่า
คำพูดนี้เหมือนเป็นระเบิดที่ทำให้กำแพงความกลัวของคุณสา พังลง
อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว ถ้าผมให้คุณรับบทเป็น ผู้ก่อตั้ง RAVIPA
แบรนด์คุณค่อย ๆ โต ค่อยเป็นค่อยไป
ออกคอลเล็คชั่นใหม่ ๆ ตลอด แต่ธุรกิจของคุณไม่ไปไหนสักที
หากคุณคือผู้ก่อตั้ง RAVIPA ในช่วงเวลานั้น คุณจะทำอย่างไรครับ
คำตอบของคุณไม่มีผิด ไม่มีถูกครับ
………………………………………………………………………………………………
หลาย ๆ คน คงได้คำตอบและกลยุทธ์ที่จะบริหารแบรนด์ RAVIPA ในแบบของตัวเองแล้วใช่มั้ยครับ
กลับมาดูทางด้านของคุณ ธนิสา กันต่อครับ
ไฟแห่งความมุ่งมั่นของ RAVIPA
หลังจากมีคนมาปลุกไฟในตัวเธอให้ออกจาก Comefort Zone
เธอตัดสินใจเอาเงินที่เธอมีอยู่ทั้งหมด
ทุ่มเปิดสาขาทันที 9 สาขา ภายใน 1 ปี
ทั้ง ๆ ที่เธอเองก็ไม่รู้วิธีบริหารเลย แต่ใช้การดูเอาหน้างาน
ค่อย ๆ แก้ และเริ่มเรียนรู้การบริหารแบรนด์
ที่มีมากกว่า 1 สาขา นับจากวันนั้น
ซึ่งการกระทำนี้อาจจะมองว่าใจร้อน มุทะลุ เกินไปหน่อย
ที่เปิด 9 สาขา ภายในเวลา 1 ปี แล้วค่อยมาศึกษา แก้ปัญหาหน้างาน
แต่เหตุผลที่เธอทำไปแบบนั้นก็เพราะ
คุณสา มองว่าการจะเปิดสาขา เพิ่มฐานลูกค้า เพิ่มยอดขาย
เรียนรู้วิธีบริหาร ตัวเราเองก็ต้องพร้อม ต้องรู้ว่าควรทำยังไง
แต่คำถามคือ
แล้วเมื่อไหร่ล่ะที่คิดว่าพร้อม” แล้ว “พร้อมที่สุด คือตอนไหน
ในเมื่อสถานการณ์มันไม่เอื้อต่อการ “รอ”
ใช่ครับ คุณสาคิดว่า ถ้าจะทำอะไรสักอย่าง
แล้วต้องรอให้ “พร้อม” มันไม่ได้ทำอะไรสักที
ก็เลยเริ่มในวันที่ไม่พร้อมนี่แหระ แล้วค่อยเรียนรู้ไปพร้อมกับมันสุดท้ายเราก็จะเข้าใกล้
ความพร้อมเอง ดีกว่ารอให้พร้อม ซึ่งก็ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่.
หลังจากเปิดไปแล้ว 9 สาขาสิ่งที่เป็นปัญหาของ RAVIPA ก็คือ
พื้นที่แต่ละสาขามีกลุ่มลูกค้าที่ต่างกัน บางสาขาคอลเล็คชั่นนี้ขายดี
อีกคอลฯ หนึ่งขายไม่ได้ ก็ต้องมีการ Rotate สินค้าไปๆ มาๆ อยู่ตลอด
ซึ่งก็เป็นเรื่องที่คุณสา เจ้าของแบรนด์ RAVIPA ได้ศึกษา,เรียนรู้และแก้ปัญอยู่เรื่อย ๆ
แต่นั้นก็ไม่ได้ถึงขั้นที่ RAVIPA มีการเติบโตที่เพิ่มขึ้นมากเท่าไหร่
เรียกได้ว่าก็ยังล้มลุก คลุกคลานอยู่ ถึงแม้คุณสา จะทุ่มหมดหน้าตักเพื่อเปิด 9 สาขาพร้อมกัน
แต่นั้นก็ไม่ทำให้ธุรกิจโตสักที คือมันโตครับ มียอดขาย มีฐานลูกค้า
แต่เป็นการเติบโตที่ดูเหมือนจะไม่ค่อยต่างจากเดิมเท่าไหร่
คุณสาจึงพยายามคิดวิธีที่จะทำให้แบรนด์ของเธอนั้น
เข้าไปอยู่ในกลุ่มลูกค้าที่กว้างมากขึ้น
จนกระทั่งโลกได้รู้จักกับโควิด-19
นอกจากสร้างความปั่นป่วนและสร้างความเสียหายมหาศาล
กับโลกของเราแล้ว RAVIPA ก็เป็นหนึ่งในธุรกิจที่แทบจะหมดหนทางสู้ต่อ
ยอดขายตก รายได้หาย พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป บอกเลยว่าหมดความหวังสุด ๆ ครับ
RAVIPA แก้ปัญหาอย่างไร ?
ในเวลานั้นแทนที่คุณ สา จะรีปจัดการอะไรสักเพื่อกอบกู้สถานการณ์
แต่เธอหยุดคิดครับ เธอหยุดและคิดถึงคอนเซ็ปการออกแบบเครื่องประดับ
ในแต่ละชิ้นที่คุณสากับพี่สาวของเธอนั้นรังสรรค์ออกมาตลอดระยะเวลา
ตั้งแต่เริ่มต้นแบรนด์จนถึงจุดที่เธอคิดว่าธุรกิจกำลังจะไปไม่รอด
มีสิ่งหนึ่งที่ยังคงความเป็นเอกลักษณ์ของ RAVIPA คือ
Key word คำนี้ครับคือ Meaning หรือ แปลเป็นไทยคือ “ความหมาย”
ใช่ครับ เครื่องประดับทุกชิ้นของ RAVIPA เขาไม่ได้แค่ออกแบบมาให้สวย
เรียบง่ายและดูหรูหรา เพียงอย่างเดียว แต่เขาใส่ความหมาย
ใส่เรื่องราวลงไปในเครื่องประดับแต่ละชิ้น แต่ละคอลเล็คชั่นจะมีเรื่องราวที่ต่างกัน
ซึ่งสิ่งนี้เองที่ทำให้ RAVIPA สามารถเข้าไปอยู่ในใจของลูกค้าได้
เครื่องประดับที่มีความหมายสามารถเชื่อมต่อความรู้สึกกับผู้ใส่
และสร้างความหมายได้ในแต่ละโอกาส
RAVIPA สายมู ถือกำเนิด
เมื่อคิดได้อย่างนั้นแล้วคุณสา จึงนำความรู้สึกหมดหวังของตัวเองไปทำให้เกิดความหวังขึ้นนั้นก็คือ
มู(มูเตลู) คือหาที่ยึดเหนี่ยวจิตใจในวันที่ธุรกิจตกต่ำนั้นเอง
และก็คิดว่าคนอื่น ๆ ก็คงหาที่ยึดเหนี่ยวจิตใจในช่วงเวลาที่ยากลำบากเช่นเดียวกัน
คุณ ธนิสา จึงได้ปรึกษา กับคุณ รวิภา พี่สาวของเธอ สุดท้ายแล้ว
RAVIPA ได้ให้กำเนิด คอลเล็คชั่นใหม่ ในวันที่ธุรกิจอื่น ๆ ได้แต่ชลอตัว
แต่ทั้งคู่เลือกที่จะสวนกระแสโลก
ปล่อยของออกมาในวันที่คนทั้งประเทศกำลังประสบปัญหาโรคระบาด
แต่หารู้ไม่ว่าการสวนกระแสโลกในครั้งนี้ของ RAVIPA จะกลายเป็นหมุดหมายสำคัญที่กำลังจะทำให้
RAVIPA เติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด RAVIPA เปิดตัวคอลเล็คชั่น Reminder
เครื่องประดับสายมู มีจี้รูปองค์เทพต่าง ๆ
ที่แฝงไปด้วยความหมายมากมาย
ให้ทุกคนได้รับไปบูชา
ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อครับ การสวนกระแสในครั้งนี้ประสบความสำเร็จแบบไม่คาดคิด
ด้วยดีไซน์ที่เรียบง่ายเป็นเครื่องบูชาก็ได้ หรือจะเป็นเครื่องประดับก็ดี
คุณสาให้เหตุผลว่า Reminder จะเป็น คอลเล็คชั่นที่จะทำหน้าที่
เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจในคอนเซ็ป
“มูยังไงไม่ให้รู้ว่ามู”
มีการพูดถึง RAVIPA อย่างกว้างขวางเกิดการบอกต่อปากต่อปาก
ว่าซื้อมาใส่แล้วดีก็ป้ายยาต่อกันไปเรื่อย ๆ
แต่ยังไม่จบเท่านี้ RAVIPA ได้แจ้งเกิดจากไวรัล
ที่บอกเลยครับว่าโชคดีสุด ๆ
มีเรื่องเล่ามาว่า
มีลูกค้ามาซื้อกำไลจาก RAVIPA ในคอลเล็คชั่น
Reminder ทุกอย่างก็ดูเหมือนจะปกติดีใช่มั้ยครับ
ไม่กี่วันต่อมาคุณ ธนิสา และ คุณ รวิภา ก็ได้เห็นสินค้า
ของตัวเอง ไปอยู่บนข้อมือของศิลปินระดับโลก
อย่าง ลิซ่า แบล็คพิงค์ ครับ ….
ซึ่งแฟนคลับของลิซ่า ได้ซื้อมาให้ลิซ่าใส่นั้นเอง
แฟนคลับศิลปินเกิดการตามหากันทั้งประเทศว่า
บนข้อมือของลิซ่า แบรนด์อะไร
และด้วยสถานการณ์ โควิด-19 ก็ทำให้ RAVIPA มียอดขายมากขึ้น
กลายเป็นว่าเมื่อเวลาผ่านไป ดารา เซเลบต่าง ๆ ก็ซื้อใส่และบอกต่อกัน
ปากต่อปาก ช่วยให้แบรนด์กลับมาหายใจต่อได้ยาว ๆครับ
ความสำเร็จนี้ทำให้คุณ ธนิสา ได้รับรางวัล
DEmark Award ประเภท Excellent Design: Fashion & Accessories
ในปี 2562 และได้รับรางวัลเป็น Women Inspire Awards 2564
และความสำเร็จนี้ได้ไปเข้าตาแบรนด์ดังระดับโลก
ที่เป็นเจ้าของทั้งค่ายหนังและเจ้าของลิขสิทธิ์ตัวการ์ตูนรวมถึงซูเปอร์ฮีโร่มากมาย
ที่คนทั้งโลกรู้จักกันเป็นอย่างดี Disney นั้นเอง
RAVIPA จึงกลายมาเป็นแบรนด์จิวเวอรี่ไทย แบรนด์แรกของไทย
ที่ได้ร่วมงานกับ The Walt Disney Thailand
ได้ออกคอลเลคชั่นมากมายไม่ว่าจะเป็น
Mickey and Friends Collection, The Little Mermaid Collection, The 100th Year of Disney Collection
แน่นอนครับว่าผลงานในครั้งนี้ของ RAVIPA
เป็นที่ยอมรับจากลูกค้าและเป็นที่ชื่นชอบของ
The Walt Disney Company Southeast Asia
และ The Walt Disney Korea
จนได้รับเลือกให้เป็นแบรนด์ไทยแบรนด์แรก
ที่วางขายใน Disney Store ที่ The Hyundai Seoul ห้างสรรพสินค้าอันดับหนึ่งของเกาหลีใต้ ทั้ง 2 สาขา
ได้แก่ สาขา ยออึยโด (Yeouido) และ พันกโย (Pangyo) กรุงโซล
จนถึงปัจจุบันจากความสำเร็จของ คอลเลคชั่น Reminder
ที่ให้ RAVIPA โตขึ้น 2,000 เปอร์เซ็น ใน 1ปี
สู่แบรนด์จิวเวอรี่ไทย ที่มีชื่อเสียงระดับโลก
จากการได้ร่วมงานกับ Disney
จากวันนั้น จนถึงวันนี้
RAVIPA ทำรายได้ไปแล้วกว่า 1,000 ล้านบาท
และขึ้นเป็น แบรนด์เครื่องประดับจิวเวอรี่ ไทย
แบรนด์เดียวที่ได้ขึ้นเป็นสินค้าที่ขายดีที่สุด
บนแพลตฟอร์ม อี-คอมเมิร์ซ
และนี้คือเรื่องราวของ RAVIPA แบรนด์เครื่องประดับ พันล้าน
ฝีมือคนไทย
ฟังมาถึงตรงนี้แล้วคุณได้เรียนรู้อะไรบ้างครับ
สำหรับผมมี 3 อย่าง
ที่ได้เรียนรู้และชอบมาก ๆ อยากแชร์ให้ทุกคนได้ฟังกันครับ
- อย่าให้คำดูถูกของคนอื่นมีผลต่อชีวิตของคุณจงเอาคำพูด
เหล่านั้นมาใช้เป็นแรงผลักดันให้ได้ผลลัพท์ที่ดีที่สุด
- การทำธุรกิจไม่เคยมีคำว่าพร้อม มีแต่คำว่าจะลงมือทำหรือไม่
เพราะหากรอจนกว่าจะพร้อม มันอาจจะสายเกินไปแล้วก็ได้
- ทำธุรกิจ จงมองหาโอกาสใหม่ ๆ อยู่เสมอแม้จะอยู่ในจุดที่ยากลำบาก
ความเสี่ยงมันน่ากลัวแต่ก็ไม่น่ากลัวเท่า
ธุรกิจที่ไม่ทำอะไรเลย
หากคุณชอบบทความที่น่าสนใจแบบนี้
อย่าลืมติดตาม THE INSIDER กันไว้
จะได้ไม่พลาดอินไซต์ ธุรกิจดี ๆ ที่เรานำมาเล่าให้ฟัง