ทำไมบางองค์กรถึงรุ่งในภาวะเศรษฐกิจไม่ดี?

ไม่ว่าจะกี่ปีที่ผ่านมา หรือแม้กระทั่งในปีนี้ ในฐานะผู้ประกอบการ คงไม่หนีพ้นกับคำว่า “เศรษฐกิจ” ซึ่งสิ่งที่มักจะได้ยินอยู่เสมอคือ สภาพเศรษฐกิจไม่ค่อยดี แต่ถ้าลองสังเกต คำนี้น่าจะได้ยินมาหลายปีแล้ว ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ในสภาพเศรษฐกิจไม่ดี มันไม่ดีทั้งหมด หรือจริง ๆ แล้วมันไม่ดีต่อธุรกิจของเราเอง
ภายในสภาวะเศรษฐกิจแบบเดียวกัน สิ่งที่เกิดขึ้นคือ จะมีองค์กรที่ “ร่วง” แต่ก็จะมีองค์กรที่ “รุ่ง” นั่นหมายความว่า ยังมีบางองค์กรที่สามารถเติบโตได้ในสภาวะแบบนี้
ก่อนอื่นสิ่งที่ผู้ประกอบการทุกคนน่าจะทราบคือ เรามีสิ่งที่ควบคุมได้ และสิ่งที่เราควบคุมไม่ได้ ซึ่งสิ่งที่เราต้องทำในวันนี้คือ โฟกัสไปในสิ่งที่เราควบคุมได้ เช่น เลือกการลงทุนให้เหมาะสมกับเทรนด์ สร้างกลยุทธ์ที่ทำให้องค์กรอยู่รอด หรือหา New S-Curve เป็นต้น
และสิ่งที่สามารถทำได้ทันทีคือ ตอบคำถาม 3 ข้อนี้
– มีอะไรที่กำลังเกิดขึ้นและกำลังเป็นเทรนด์ รวมถึงอะไรคืออุปสรรค
– เมื่อเจอสิ่งนั้นแล้ว อะไรคือสิ่งสำคัญที่เราต้องทำ
– แล้วเราต้องลงมือทำอะไรบ้าง
แต่เหนือสิ่งอื่นใด เราต้องรับรู้ถึง “อารมณ์” ของตัวเราเองในขณะตอบคำถามหรือตัดสินใจสิ่งต่างๆ เพราะอารมณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนั้น คือสิ่งที่จะนำพาเราไปสู่อะไรบางอย่าง และมากไปกว่านั้น คือ ต้องรู้สเตจของตัวเราเอง ว่าเราอยู่ตรงไหน จะทำให้เราสามารถปรับตัวได้อย่างเหมาะสม
[คำถามชวนคิด] คุณเคยหยุดและสำรวจหรือไม่ว่า ธุรกิจของคุณอยู่ในสเตจใด และสิ่งที่ทำอยู่วันนี้คือสิ่งที่ใช่สำหรับการก้าวไปสเตจถัดไปหรือไม่?
[5 Stages of Business Growth]
(1) Startup: Starting from zero
(2) Survival: Building a customer base and reaching breakeven
(3) Growth: Rapid expansion in customer and revenue
(4) Expansion: Entering new markets
(5) Maturity: Sustaining competitive advantage and innovation
สิ่งที่ยากที่ ไม่ใช่การรู้ว่าเราอยู่ในสเตจไหน แต่เราจะข้ามแต่ไปสเตจต่อไปได้อย่างไร คงไม่มีคำตอบที่ตายตัว เพราะแต่ละองค์กรมีความแตกต่างกัน แต่สิ่งสำคัญคือ องค์กรต้องไม่ทำแบบเดิม ถ้าองค์กรยังทำแบบเดิมๆ ผลลัพธ์ที่ได้ก็เป็นแบบเดิม
ในภาพรวม สิ่งที่ควรจะเกิดขึ้น คือ ผู้ประกอบการจะต้องกลายร่างให้เป็น ในช่วงต้นของธุรกิจ ผู้ประกอบการอาจจะต้องทำเองทุกอย่าง (Chief Everting Officer) แต่เมื่อองค์กรเริ่มเติบโต ก็ต้องผันตัวเองเป็นผู้วางระบบหรือจ้างมืออาชีพเข้ามาทำงาน (Chief Architech Officer) ต่อมาเมื่อองค์กรเริ่มใหญ่ขึ้น ก็ต้องสร้างพฤติกรรมที่อยากให้องค์กรเป็น (Chief Culture Officer) และสุดท้าย ก็จะกลายเป็นผู้ถ่ายทอดวิสัยทัศน์ขององค์กร (Chief Visionary Officer)
สุดท้าย เราต้องตอบคำถามหลัก ๆ ให้ได้ว่า ธุรกิจของเราอยู่ในสเตจไหน, โจทย์วันนี้ของธุรกิจเราคืออะไร, แล้วต่อจากนี้เราต้องทำอะไร และองค์กรของเราพร้อมหรือไม่ที่จะทำสิ่งนั้น ซึ่งการตอบคำถามมันจะยาก และมีความกังวล แต่ถ้าเราหยุดและกล้าเผชิญหน้ากับสิ่งเหล่านั้น และใช้ความสนุกและท้าทาย เชื่อว่าเราจะสามารถนำพาธุรกิจให้อยู่รอดได้
เรียบเรียงโดย: THE INSIDER
Source
– The Secret Sauce Summit 2024